Carrot My BanneR

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17
วันจันทร์ ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 13.30-15.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
         กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสอน มาสอนเพื่อได้เห็นข้อบกพร่องในกลุ่มของตัวเอง



กลุ่มดิฉันหน่วยอากาศ สอนวันอังคาร














         สำหรับการสอนในวันนี้ก็เตรียมตัวยังไม่ดี ยังไม่ได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาสอน และเนื้อหาที่เตรียมมายังไม่ถูกต้อง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ คือ ให้เราร้องเพลง จดบันทึกคุณสมบัติของอากาศ จากนั้นก็ถามเด็กๆว่านอกจากคุณสมบัติของอากาศในเนื้อเพลง เด็กๆพอจะรู้จักไหม จากนั้นนก็เชื่อมสู่การทดลองแรกคือ อากาศเคลื่อนที่ได้ ,อากาศมีแรงดัน,และอากาศมีน้ำหนัก




หน่วยยานพาหนะ สอนวันพุธ






 กลุ่มยานพาหนะ เพื่อนก็เตรียมการสอนมาพร้อม ใช้น้ำเสียงการสอนได้เหมาะสม สื่อที่นำมาสอนรูปยานพาหนะหลากหลายดี อาจารย์แนะนำให้เลือกภาพให้ดี เพื่อความเหมาะสมในการสอน รูปไม่ควรมีมาก 





หน่วยดอกไม้  สอนวันศุกร์














       กลุ่มสอนหน่วยดอกไม้ ก็มีการนำดอกไม้ของจริงมาให้เด็กๆไดทดลอง ก็เป็นสิ่งที่ดี ทำให้การเรียนสนุกสนานกับการได้ลงมือทำ แต่การแปลรูปอาจารย์แนะนำอยากให้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เด็กได้เห็นการแปรรูปจริงๆ เช่น ทำอาหาร 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องมีเนื้อหาหรือหลักการสอนที่ถูกต้อง เพราะถ้าเนื้อหาผิด จะทำให้เด็กๆจำผิดๆถูกๆ จนทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวครูผู้สอน

คำศัพท์
Food coloring  สีผสมอาหาร
Wind power     พลังงานลม
electrical energy   พลังงานไฟฟ้า
gas   ก๊าซ
Solar energy  พลังงานแสงอาทิตย์


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ยังเตรียมความพร้อมในการสอนไม่ดี แต่ทุกคำแนะนำที่อาจารย์สอน พยายามตั้งใจฟัง เพื่อจะได้พัฒนาการสอนของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนก็มาเรียนไม่ครบ แต่ทุกคนมีความตั้งใจเรียนดี 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็ให้คำแนะนำการสอนวิทยาสาสตร์ แม้บางหลักนักศึกษาสอนไม่ถูก อาจารย์ก็ยังรับฟังแล้วหลังจากนั้นก็จะให้คำแนะนำให้เราไปปรับปรุงงานให้ดีและมีคุณภาพยิ่งขึ้น




วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันอังคาร ที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน

       ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน อาจารย์ได้ปรึกษาหารือเรื่องวันสอบปลายภาค  เพื่อจะได้นัดปลายสอบให้เสร็จก่อนกำหนดการในตารางคือวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งเป็นมติสอบในวันที่ 6 ธันวาคม
 (เวลา 11.30-13.00น.) จากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มรูปตัวยูตามกลุ่มที่ประดิษฐ์ของเล่น ตามกลุ่ม กลุ่มคานดีด กลุ่มขวดน้ำขนของ กลุ่มรถพลังงานลม และกลุ่ม   แล้วอาจารย์ก็จะถามว่าของเล่นที่เราประดิษฐ์ขึ้นสามารถนำคุณสมบัติไปประยุกต์ใช้ทำอะไรได้บ้าง กลุ่มดิฉันทำรถพลังงานลม ตัวอย่างเช่น  กังหันลมจากนั้นอาจารย์ได้ทบทวนขั้นสอนการสอนแบบ stem 
            

          
ขั้นตอนการสอนแบบ STEM

ตัวอย่างการประดิษฐ์รถพลังงานลม


สังเกต  อุปกรณ์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง ถ้าเด็กตอบไม่ได้ครูก็แนะนำ
â
ตั้งประเด็นปัญหา เช่น มีวิธีการใดที่ช่วยให้เราเดินทางไปได้โดยไม่ใช้น้ำมัน คำตอบคือใช้พลังงานลม
â
ดูวิดีโอขั้นตอนการประดิษฐ์รถพลังงานลมในยูทูป
â
ทบทวนขั้นตอนการประดิษฐ์รถพลังงานลม
â
ครูสาธิตการประดิษฐ์รถพลังงานลม
â
ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กจำนวนเท่าๆกัน ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์ไปแจกเพื่อนๆในกลุ่มของตัวเอง จากนั้นเด็กๆก็ประดิษฐ์รถพลังงานลมของตัวเอง
â
ตั้งสสมมติฐาน ถ้าเด็กๆเป่ารถพลังงานลมจะเกิดอะไรขึ้น
â
ทดลองเป่ารถพลังงานลม ครูตั้งเกณฑ์การทดลองถ้ารถพลังงานลมของเด็กๆถึงเส้นสีแดงที่ครูกำหนดถือว่ามีประสิทธิภาพ แต่ของเด็กๆคนไหนไปไม่ถึงก็ให้ไปปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
â
ให้เด็กๆแข่งกันรถพลังงานลมเป็นคู่  โดยมีครูดู จากนั้นครูก็ประเมินประสิทธิภาพ
â
ครูสรุปกิจกรรม ประสิทธภาพของรถพลังงานลมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำ กังหันลมที่เกิดจากพลังงานลม




อาจารย์นัดหมายวันสอบปลายภาค





นั่งตามกลุ่มการประดิษฐ์ของเล่น





เพื่อนตั้งใจเรียนมาก




 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ในการประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น วัสดุที่สามารถให้เด็กๆเตรียมมาทำที่โรงเรียนได้ อาจจะมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมหรือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนและผู้ปกครอง รูปแบบที่ปราชาสัมพันธ์ เช่น จดหมายข่าว ป้ายนิเทศน์ แผ่นพับ เป็นต้น

คำศัพท์
Wind power      พลังงานลม
wind turbine     กังหันลม
blow                  เป่า
mobile               เคลื่อนที่
property           คุณสมบัติ
the taste           รสชาติ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ก็รู้สึกมีความกระตือรือล้นกว่าทุกๆวัน ตั้งใจฟังขั้นตอนการสอนของอาจารย์และจดบันทึก 
เพื่อเป็นแนวข้อสอบ ทั้งหมดของการเรียนในภาคเรียนนี้ ก็มีส่วนที่ดิฉันต้องปรับปรุง ในเรื่องการสอน การพูด เทคนิคกระบวนการสอนต่างๆ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แม้จะตอบถูกบ้างผิดบ้างแต่ทุกคนก็ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ ทุกคนตั้งใจเรียนดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็ทำหน้าที่ได้ดีมากค่ะ แม้บางครั้งนักศึกษาอาจจะไม่เข้าใจหรือเข้าใจอะไรที่ยาก แต่อาจารย์ก็พยายามสอน พยายามอธิบาย รับฟังเหตุผลจากนักศึกษา เคี่ยวเข็ญ เพราะอยากให้นักศึกษามีความรู้ มีหลักการสอนที่ถูกต้อง

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันอังคาร  ที่ 15 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน

      จากสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับมอบหมายให้เตรียมการสอนของแต่ละวัน  วันนี้แต่ละกลุ่มก็ได้มาทำหน้าที่สอน ดังนี้


วันจันทร์  หน่วยผลไม้  



         ครูพาเด็กท่องคำคล้องจองผลไม้  เขียนมายแม็บชื่อผลไม้  ให้เด็กๆทายผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าที่มีผ้าปิดไว้ว่ามีชนิดใดบ้าง  ครูเปิดผ้าแล้วก็บอกชื่อผลไม้  ให้เด็กๆสังเกตผลไม้ผลเดี่ยว ผลรวม เช่น แอปเปิ้ล เป็นผลเดี่ยว เพราะมีผลเดียว  องุ่น เป็นผลรวม เพราะมีหลายลูกในพวงเดียวกัน ให้เด็กออกมาจับผลไม้ผลเดี่ยวและผลรวมออก 1ต่อ1 สรุปคือผลเดี่ยวมากกว่าผลรวม




วันอังคาร หน่วยไข่  










       ร้องเพลงให้เด็กนักสมาธิ เมื่อลืมตาขึ้น คนที่มีจิกซอรูปไข่อยู่ต่อหน้าให้ไปต่อหน้ากระดาษทีละคน เมื่อเด็กๆต่อจิกซอเสร็จ ครูชมเชยปรบมือให้เด็กๆ  ครูเฉาะไข่ลงในถ้วยจากนั้นส่งให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่เป็ดและไข่ไก่ ถามเด็กๆไข่เป็ดและไข่ไก่มีลักษณะยังไง ครูบันทึกลงในตารางประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี และ กลิ่น จากนั้นครูก็เขียนจำแนกความเหมือนกับความแตกต่างของไข่เป็ดกับไข่ไก่ให้เด็กๆดู



วันพุธ หน่วยต้นไม้








      ครูพาเด็กๆท่องคำคล้องจอง " ต้นไม้ที่รัก"  จากนั้นครูจดบันทึกการดูแลรักษาต้นไม้ในแผ่นชาร์จ ดังนี้ พรวนดิน รดน้ำ ดายหญ้า แล้วถามเด็กๆนอกจากนี้เด็กๆรู้จักวิธีอื่นอีกไหม เด็กๆก็ตอบ ใส่ปุ๋ย พ่นยา จากนั้นครูพาทดลองการปลูกถั่วงอก ก่อนทดลองก็ได้แนะนำอุปกรณ์การปลูก ประกอบด้วย ถั่วเขียว  แก้วน้ำ ก้นขวด ทิชชู่ ครูก็อธิบายการปลูกพร้อมแนะนำการดูแลรักษาการปลูปถั่วงอก



วันพฤหัสบดี หน่วยปลา


                    ครูแนะนำอุปกรณ์และขั้นตอนการทำปลาชุบแป้งทอด จากนั้นขอตัวแทนเด็กกลุ่มละ 2 คนมาทำปลาชุบแป้งทอดที่เตียมไว้เป็นฐาน





อุปกรณ์ในการทำปลาชุบแป้งทอด แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้



1.ตัดกระดาษรองใส่ปลาชุบแป้งทอด





2.หั่นปลาเป็น 2 ชิ้น



3.นำปลาที่หั่นไว้ ชุบแป้งเพื่อเตรียมทอด




4.นำปลาที่ชุบแป้งมาทอดในกระทะจนปลาสุก 







ช่วงทีสอนครูอธิบายการทอดปลาชุบแป้งทอดไปด้วย




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การสอนในแต่ละหน่วยครูผู้สอนต้องเตรียมการสอนให้ดี เพื่อจะได้ง่ายต่อการสอนหรือการสอนมีวิธีการที่ถูกต้อง ทำให้เด็กๆได้รับความรู้ที่ถูกต้องไปด้วย


คำศัพท์
Treatment   การดูแลรักษา
breaded     ชุบแป้ง
Single        ผลเดี่ยว
change     การเปลี่ยนแปลง
bean sprouts  ถั่วงอก



การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนๆสอน ฟังคำแนะนำของอาจารย์ พร้อมจดบันทึกลงในสมุด
ประเมินเพื่อน :  ได้เห็นความตั้งใจของแต่ละคน เพื่อนๆหลานคนมีความเพียรพยายามตั้งใจสอนได้ดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายการสอนได้ละเอียดดีมากๆเลยค่ะ





วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
       เข้าสู่เนื้อหาเริ่มต้นด้วยการดูวีดีโอของการประดิษฐ์ของเล่นที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มไปปรับปรุงแห้ไขมา คือกลุ่มขวดน้ำขนของและกลุ่มคาดดีดจากไม้ไอติม เพื่อให้งานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และก็นั่งเป็นกกลุ่มที่ทำหน่วยการเรียน อาจารย์ก็จะถามวันจันทร์-วันศุกร์  แต่ละกลุ่มเตรียมแผนการสอนอย่างไร  อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำ เพื่อให้เราทำงานได้ถูกต้องและมีคุณภาพ จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มเลือกการสอนในแต่ละวัน ว่าแต่กลุ่มจะสอนนนนวันไหน มีกลุ่มอากาศและกลุ่มยานพาหนะที่สอนวันไหนก้ได้ เนื่องจากมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ กลุ่มดิฉันหน่วยอากาศ เลือกสอนวันอังคาร เรื่อง คุณสมบัติของอากาศ เมื่อแต่ละกลุ่มเลือกวันที่จะสอนเสร็จ  ก็บอกอาจารย์ว่าแต่ละกลุ่มสอนวันไหนและใช้สื่ออะไรในการสอน  อาจารย์จะจัดเตรียมวัสดุให้ เพื่อให้แต่ละกลุ่มทำสื่อและเตรียมการสอนในสัปดาห์หน้า แล้วก็แจกแผนการสอน ให้นักศึกษาทุกคนเขียนแผนการสอนตามหน่วย ตามวันที่ได้รับมอบหมายสอนในวันต่างๆ 


แผนการสอนของดิฉัน





Mind Map หน่วยอากาศ










กิจกรรมต่างๆในห้องเรียน
















วิดีโอการประดิษฐ์รถพลังงานลมที่กลุ่มดิฉันไปแก้ไขใหม่




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
-การสนทนาพูดคุยการสอนในแต่ละวัน ทำให้เรารู้วิธีการในการสอน เพื่อนำไปสู่การเตรียมการสอน เช่น เขียนแผนการสอน ,เตรยมสื่อการสอน เป็นต้น

คำศัพท์   
รูปทรง            shape
กลิ่น               smell
คำคล้องจอง  rhymes
นิทาน             tale
ปริศนาคำทาย  riddles

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และเพื่อนๆพูดการสอนในแต่ละวัน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดการสอนได้ดีทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายขั้นตอนการสอนได้ละเอียดดีมากค่ะ


วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559   ( เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
    ก่อนเข้าสู่บทเรียน จากสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำสื่อวิดีโอสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์  เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอนเด็กปฐมวัย ดูวิดีโอของแต่ละกลุ่มอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำการทำงาน เพื่อที่ให้เราได้ปรับปรุงชิ้นงานให้ดียิ่งขึ้น จากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ5 คนซึ่งมีทั้งหมด 7กลุ่ม ให้แต่กลุ่มออกแบบโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้


กลุ่มที่ 1  หลอดมหัศจรรย์ 
 อาจารย์แนะนำก็ทำวิดีโอได้ดี การพูด การแต่งกาย และการจัดทำจึงออกมาดี




กลุ่มที่ 2 รถพลังงานลม กลุ่มของดิฉัน
ก็มีส่วนที่ต้องปรับปรุงหลายส่วน เช่น ต้องดูว่าวิดีโอที่ทำเอาให้เด็กวัยไหนดู จัดทำให้เหมาะสมกับวัย สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก 








กลุ่มที่ 3 คานดีด 
กลุ่มนี้ก็สามารถทำได้ดีในระดับหนึ่ง ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงเล็กน้อยในเรื่องตัวหนังสือ เพราะจะได้เป็นแบบอย่างการเขียนที่ถูกต้องสำหรับเด็กๆได้









กลุ่มที่ 4 ขวดน้ำขนของ
กลุ่มนี้ก็นำเสนอได้น่าสนใจดี ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงในเรื่อง ชุดที่ใส่นำเสนอการสอนและต้องทำให้เห็นชัดเจนว่าสิ่งประดิษฐ์นี้มีการขนของจริงๆ






การเรียนการสอนการเขียนโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การเขียนโครงสร้างการเรียนในวันนี้ก็สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผนการสอนได้ เช่น หน่วยอากาศ เพื่อจะได้เขียนแผนการสอนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
-สื่อวิดีโอการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ก็สามารถนำมาสอนเด็กๆลองประดิษฐ์ได้ เพื่อให้เด็กๆมีของเล่นที่เด็กๆทำขึ้นเอง เด็กๆจะได้ภูมิใจที่เด็กๆก็สามารถประดิษฐ์ของเล่นได้


คำศัพท์
สรุปข้อมูล            Summary
สุขศึกษา              health education
การปั้น                 Molding
พิมพ์ภาพ            prints
เกมการศึกษา     Educational games
ประดิษฐ์              artificial



การประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้ก็ตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์พูด พร้อมจดบันทึกเนื้อหาสำคัญ ก็ช่วยเพื่อนคิดหน่วยจัดการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนดี มีการถามตอบดีเมื่ออาจารย์ถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่องการจัดการเรียนรู้ได้ละเอียดดีมาก




วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันอังคาร  ที่  25 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน

        ก่อนเข้าสู่เนื้อหาวันนี้อาจารย์ได้อบรมเรื่องการแต่งกายในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่ในหลวงท่านสวรรคต มีการใส่ชุดดำหรืออาจจะใส่ชุดนักศึกษาไว้อาลัย อาจารย์อยากให้นักศึกษาตระหนักให้ความสำคัญกับพระองค์ท่านและเพื่อให้เราตระหนักถึงมหาวิทยาลัยของเราด้วย 

        เริ่มต้นการเรียนอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานเกี่ยวหน่วยต่างๆที่ให้ไปแก้ไขมา  จากนั้นก็ทบทวนสาระวิทยาศาสตร์  เกี่ยวข้องกับหน่วยที่แต่ละกลุ่มทำอย่างไร อาจารย์ก็อธิบายอย่างละะเอียด


      

  หน่วยต้นไม้     
ในวันนี้อาจารย์แนะนำเมื่อสอนเด็กจริงๆให้หาสิ่งที่หามาง่ายๆมาให้เด็กดู เช่น เมล็ด




      


  หน่วยผลไม้      
แนะนำการวาดรูปผลไม้หรือติดรูปผลไม้ในมายแม็บ 
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เด็กรู้จักว่านี้คือผลไม้ชนิดนี้




   

หน่วยปลา   
กลุ่มนี้เพื่อนเขียนหนังสือผิดหลายคำ เช่น เกล็ด ออกซิเจน แปรรูป
 การเขียนมายแม็บอย่าเขียนย้อนกลับ







       หน่วยยานพาหนะ 
การเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังของยานพาหนะ 
เช่น ฝนตกถนนลื่นให้ขับรถอย่างระมัดระวัง  การเช็ครถก่อนเดินทางไกล 






หน่วยไข่ 
อาจารย์แนะนำการเขียนหนังสือให้มีหัวมีตัวอักษรชัดเจน เพื่อให้เด็กดูเป็นแบบอย่าง







หน่วยอากาศ  
การเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับแก๊ส การเปลี่ยนแปลงของฤดู 






หน่วยดอกไม้  
 ให้เพิ่มข้อมูลปัจจัยของดอกไม้ให้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นไม้ดอกหรือดอกไม้






การเรียนในวันนี้






เรือใบไม่ล้ม

ของเล่นวิทยาศาสตร์งานกลุ่ม 3 คน 

1.นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน  
2.นางสาวนิตยา   นนทคำจันทร์
3.นางสาวสาวิตรี  จันทร์สิงห์


   



   















อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ

1.ขวดน้ำ
2.กล่องนม
3.เทปใส
4.ฟิวเจอร์บอร์ด
5.ปืนกาว
6.กรรไกร
7.คัตเตอร์
ขั้นตอนการทำ
       1.นำเทปใสพันขวดน้ำกับกล่องนมติดกัน โดยเอากล่อมนมไว้ข้างล่าง ขวดน้ำไว้ข้างบน 
       2.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดเป็นตัวเรือ ใบพัด ตามแบบที่ต้องการ 
       3.ใช้ปืนกาวติดตัวเรือมาติดกับขวดน้ำ และใบพัด ตกแต่งเรือตามต้องการ
วิธีเล่น
         นำเรือใบไปลอยน้ำ แล้วใช้มือปัดเรือปัด เรือใบก็จะไม่ล่ม สามารถเล่นคนเดียวและเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เรือใบไม่ล่มเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
         จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)  หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง 
  จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
        การเคลื่อนที่ของเรือใบไม่ล่ม หางเสือจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางไปตามลม ส่วนกกล่องนมเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ใต้น้ำ บริเวณผิวน้ำไม่มีจุดศูนย์ถ่วงเรือใบจึงไม่ล่ม
การบูรณาการรถพลังงานลมกับการเรียนรู้แบบ STEM
  STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
       Science (วิทยาศาสตร์) = การเคลื่อนที่ของเรือใบ
       Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำเรือใบไม่ล่ม                   
       Engineering (วิศวะ) = รูปแบบเรือใบไม่ล่ม                                              
       Mathematics (คณิตศาสตร์) = จำนวน ขนาด รูปทรง 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การให้เด็กปฐมวัยนำเสนอชิ้นงาน สามารถทำได้โดย การปั้น การติดปะ การวาดรูป เป็นต้น
- หลักการเขียนMind mapนั้นพยายามทำออกมาให้เป็นภาพให้จำได้ง่าย สีต่างๆสามารถปรับปรุงเส้นให้สวยงาม ไม่ควรเขียนย้อนกลับ เขียนตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเด็กๆ

คำศัพท์
คาร์บอนมอนอกไซด์   carbon monoxide
ฤดู                      season
แรง                    force
การเคลื่อนที่      movement
การหมุน             rotation
การแปรรูป         transformation


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : การเรียนในวันนี้ฉันก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการนำเสนองานแต่ละกลุ่ม  
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายหน่วยต่างๆได้ละเอียดดี ขอบคุณอาจารย์ที่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกาย ทำให้เราต้องตระหนักมากขึ้น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ในอนาคต