Carrot My BanneR

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันอังคาร  ที่  25 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน

        ก่อนเข้าสู่เนื้อหาวันนี้อาจารย์ได้อบรมเรื่องการแต่งกายในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่ในหลวงท่านสวรรคต มีการใส่ชุดดำหรืออาจจะใส่ชุดนักศึกษาไว้อาลัย อาจารย์อยากให้นักศึกษาตระหนักให้ความสำคัญกับพระองค์ท่านและเพื่อให้เราตระหนักถึงมหาวิทยาลัยของเราด้วย 

        เริ่มต้นการเรียนอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานเกี่ยวหน่วยต่างๆที่ให้ไปแก้ไขมา  จากนั้นก็ทบทวนสาระวิทยาศาสตร์  เกี่ยวข้องกับหน่วยที่แต่ละกลุ่มทำอย่างไร อาจารย์ก็อธิบายอย่างละะเอียด


      

  หน่วยต้นไม้     
ในวันนี้อาจารย์แนะนำเมื่อสอนเด็กจริงๆให้หาสิ่งที่หามาง่ายๆมาให้เด็กดู เช่น เมล็ด




      


  หน่วยผลไม้      
แนะนำการวาดรูปผลไม้หรือติดรูปผลไม้ในมายแม็บ 
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เด็กรู้จักว่านี้คือผลไม้ชนิดนี้




   

หน่วยปลา   
กลุ่มนี้เพื่อนเขียนหนังสือผิดหลายคำ เช่น เกล็ด ออกซิเจน แปรรูป
 การเขียนมายแม็บอย่าเขียนย้อนกลับ







       หน่วยยานพาหนะ 
การเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังของยานพาหนะ 
เช่น ฝนตกถนนลื่นให้ขับรถอย่างระมัดระวัง  การเช็ครถก่อนเดินทางไกล 






หน่วยไข่ 
อาจารย์แนะนำการเขียนหนังสือให้มีหัวมีตัวอักษรชัดเจน เพื่อให้เด็กดูเป็นแบบอย่าง







หน่วยอากาศ  
การเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับแก๊ส การเปลี่ยนแปลงของฤดู 






หน่วยดอกไม้  
 ให้เพิ่มข้อมูลปัจจัยของดอกไม้ให้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นไม้ดอกหรือดอกไม้






การเรียนในวันนี้






เรือใบไม่ล้ม

ของเล่นวิทยาศาสตร์งานกลุ่ม 3 คน 

1.นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน  
2.นางสาวนิตยา   นนทคำจันทร์
3.นางสาวสาวิตรี  จันทร์สิงห์


   



   















อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ

1.ขวดน้ำ
2.กล่องนม
3.เทปใส
4.ฟิวเจอร์บอร์ด
5.ปืนกาว
6.กรรไกร
7.คัตเตอร์
ขั้นตอนการทำ
       1.นำเทปใสพันขวดน้ำกับกล่องนมติดกัน โดยเอากล่อมนมไว้ข้างล่าง ขวดน้ำไว้ข้างบน 
       2.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดเป็นตัวเรือ ใบพัด ตามแบบที่ต้องการ 
       3.ใช้ปืนกาวติดตัวเรือมาติดกับขวดน้ำ และใบพัด ตกแต่งเรือตามต้องการ
วิธีเล่น
         นำเรือใบไปลอยน้ำ แล้วใช้มือปัดเรือปัด เรือใบก็จะไม่ล่ม สามารถเล่นคนเดียวและเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เรือใบไม่ล่มเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
         จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)  หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง 
  จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
        การเคลื่อนที่ของเรือใบไม่ล่ม หางเสือจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางไปตามลม ส่วนกกล่องนมเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ใต้น้ำ บริเวณผิวน้ำไม่มีจุดศูนย์ถ่วงเรือใบจึงไม่ล่ม
การบูรณาการรถพลังงานลมกับการเรียนรู้แบบ STEM
  STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
       Science (วิทยาศาสตร์) = การเคลื่อนที่ของเรือใบ
       Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำเรือใบไม่ล่ม                   
       Engineering (วิศวะ) = รูปแบบเรือใบไม่ล่ม                                              
       Mathematics (คณิตศาสตร์) = จำนวน ขนาด รูปทรง 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การให้เด็กปฐมวัยนำเสนอชิ้นงาน สามารถทำได้โดย การปั้น การติดปะ การวาดรูป เป็นต้น
- หลักการเขียนMind mapนั้นพยายามทำออกมาให้เป็นภาพให้จำได้ง่าย สีต่างๆสามารถปรับปรุงเส้นให้สวยงาม ไม่ควรเขียนย้อนกลับ เขียนตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเด็กๆ

คำศัพท์
คาร์บอนมอนอกไซด์   carbon monoxide
ฤดู                      season
แรง                    force
การเคลื่อนที่      movement
การหมุน             rotation
การแปรรูป         transformation


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : การเรียนในวันนี้ฉันก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการนำเสนองานแต่ละกลุ่ม  
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายหน่วยต่างๆได้ละเอียดดี ขอบคุณอาจารย์ที่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกาย ทำให้เราต้องตระหนักมากขึ้น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ในอนาคต

         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น