Carrot My BanneR

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6กันยายน 
วันอังคาร ที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ.2559( เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน

         วันนี้เริ่มต้นก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์แจกกระดาษให้คัดลาดมือ จากนั้นก็นำเสนอของเล่นเรื่องอากาศที่แต่ละคนทำมา อาจารย์ก็ถามของเล่นที่ทุกคนเตรียมมาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ต่อด้วยดูตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ของรุ่นพี่และกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์


ขณะที่เพื่อนๆกำลังนำเสนอของเล่นของตนเอง



ของเล่นห้องเรียนกลุ่ม 101 



แบบฝึกคัดลายมือครั้งที่ 3




อาจารย์แจกกระดาษA 4ให้คนละหนึ่งแผ่น 
วาดนิ้วมือของตนเอง แล้วใช้สีลากเส้นตามภาพ 
ภาพนี้เนื่องจากลากเส้นไม่โค้งตามนิ้วมือ
จึงทำให้ดูไม่มีมิติมาก แต่ของเพื่อนที่ทำสวยภาพจะดูมีมิติ



การทดลองการไหลของน้ำ คือจะไหลจากที่สูงลงมาที่ต่ำ






การทดลองเรื่องระดับของน้ำ คุณสมบัติของน้ำจะคงตัวเสมอ



อาจารย์แจกกระดาษ A4ให้แบ่งกับเพื่อน 4คน แล้วพักเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตัดเป็นรูปลูกอมหัวใจ
 จากนั้นให้คลี่ออกเป็นรูปดอกไม้ แล้วใช้เมจิกเขียนวงกลมตรงกลาง
 แล้วพับเก็บมุมทุกมุม ให้ไปทดลองลอยทีละคู่



ตัวอย่างสื่อของรุ่นพี่  เรื่องการหมุน





สื่อที่ดิฉันทำขึ้น

                                     





        น้ำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำการที่มีสารต่าง ๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำ คุณสมบัติของน้ำมีรายละเอียดดังนี้            
 1. คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ   คือ ลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่นความใส ความขุ่น กลิ่น สี เป็นต้น             
 - อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ              
- สี (color) สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนแสงของสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำตามธรรมชาติจะมีสีเหลืองซึ่งเกิดจากกรดอินทรีย์ น้ำในแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมจะมีสีน้ำตาล หรือถ้ามีตะไคร่น้ำก็จะมีสีเขียว             
  - กลิ่นและรส กลิ่นและรสของน้ำจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยหรือสารในกลุ่มของฟีนอล เกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งจะทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม            
  - ความขุ่น (turbidity) เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์             
 - การนำไฟฟ้า (electical conductivity) บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า           การไหลของน้ำในทางน้ำ (Streamflow) การไหลของน้ำเป็นวิธีการในการเปิดช่องทางสู่ทะเล มหาสมุทร ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง เวลาที่ใช้ในการเดินทางขึ้นอยู่กับความเร็วของสายน้ำซึ่งวัดในรูปของระยะทางที่น้ำเดินทางได้ต่อหน่วยของwbr> ทางน้ำบางสายมีความเร็วน้อยกว่า 0.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่บางสายน้ำอาจมีความเร็วถึง 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การไหลของทางน้ำอย่างช้าๆ ที่เรียกว่า การไหลแบบชั้น (laminar flow) อนุภาคของน้ำในทางน้ำมีการเคลื่อนที่เป็นชั้นขนานกันไป ในแต่ละชั้นมีความเร็วเท่าๆกัน แต่อาจแตกต่างไปจากชั้นใกล้เคียง ในทางน้ำจะพบเห็นการไหลแบบนี้ได้ยาก แต่ถ้ามีการไหลในลักษณะนี้ จะสามารถสังเกตเห็นได้ในบริเวณใกล้ขอบของทางน้ำ แต่ทางน้ำส่วนใหญ่มักมีลักษณะการไหลแบบ การไหลปั่นป่วน (turbulent flow) ซึ่งความเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้อนุภาคมีการไหลวนเวียน การเปลี่ยนแปลงการไหลจากการไหลเป็นชั้น ไปเป็น การไหลปั่นป่วน มีปัจจัยที่สำคัญคือความเร็ว ปัจจัยอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องประกอบด้วยคือ การลดลงของความหนืดของน้ำ การเพิ่มขึ้นของความลึก และความไม่ราบเรียบของทางน้ำการวัดค่าความเร็วของทางน้ำ จะวัดในหน่วยของระยะทางที่น้ำเดินทางได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยการติดตั้งมาตรวัดหลายๆจุด ขวางลำน้ำและหาค่าเฉลี่ย ในทางน้ำสายตรง ความเร็วที่สูงสุดจะอยู่บริเวณตอนกลางของทางน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่แรงต้านทานน้อยที่สุด เมื่อทางน้ำคดโค้ง บริเวณที่ทางน้ำมีความเร็วสูงสุด จะเป็นฝั่งด้านนอกความสามารถในการกร่อนและการพัดพาวัตถุขึ้นอยู่กับความเร็วของทางน้ำ ดังนั้นความเร็วจึงเป็นลักษณะที่สำคัญของทางน้ำ ความเร็วของทางน้ำที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยทำให้ความสามารถพัดพาเอาตะกอนไปกับน้ำเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัจจัยหลายประการที่เป็นตัวกำหนดความเร็วของทางน้ำซึ่งก็เป็นตัวกำหนดความสามารถในการกร่อนของทางน้ำด้วย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
1. ความลาดเอียง (gradient)
2. รูปร่าง ขนาด และความเรียบของทางน้ำ
3. อัตราน้ำไหล (discharge) ที่มา http://www.geol.science.cmu.ac.th/gs/courseware/205100/RunWater/Stream.htm

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การทดลองดอกไม้ 2 ดอก วางในกะละมังที่มีน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้น กระดาษเริ่มแบน ดอกไม้ทั้งแต่ละดอกก็เริ่มกลีบบาน น้ำก็ซึมตามกลีบดอกไม้ การทดลองนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการสอนวิทยาศาสตร์ ทักษะการสังเกต
-น้ำเกิดจากการไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ เช่น การไหลของน้ำพุ

คำศัพท์เฉพาะ
Center of gravity     จุดศูนย์ถ่วง
Water level              ระดับน้ำ
Water features         คุณสมบัติของน้ำ
vibration                  การสั่น
top                           ลูกข่าง
object                      วัตถุ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง

     สำหรับการเรียนในห้องเรียนวันนี้ ก็ตั้งใจฟังอาจารย์พูด ฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น ก็ทำให้รบกวนการเรียนด้วย ชอบดูการทดลองที่อาจารย์นำมาให้ดูวันนี้ สื่อบางอย่างหรือการทดลองบางตัวไม่เคยเห็นมาก่อน ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ๆให้เราได้เรียนรู้



วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

Research summary

Development plans, experience, integrated learning nature around the tree's two kindergarten.


ชื่อเรื่อง :  การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ 
                  ธรรมชาติรอบตัวหน่วยต้นไม้   ที่รักชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า    :  นางรำไพ  แก่นภักดี
อาจารย์ที่ปรึกษา  : อาจารย์ ดร.นิราศ  จันทรจิตร
มหาวิทยาลัย   : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550

        การจัดประสบการณ์ในระดับชั้นอนุบาล 2 มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4ด้านพร้อมที่จะเขียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูส่วนมากยังขาดหลักการในการจัดประสบการณ์  โดยเฉพาะการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการครบทุกด้าน
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนากแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัวหน่วยต้นไม้ที่รักชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านผำ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วยต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 5 แผ่น แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน จำนวน 5 แผ่น ชุดละ 40 บาท แบบประเมินความพร้อมทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกจั้งแต่ 0.21 ถึง 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 ใช้เวลาในการทดลอง 10 ครั้ง ครั้งละ 6 กิจกรรม

ความหมายของการศึกษาค้นคว้า

         1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
         2.เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วยต้นไม้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
         1.ประชากร ได้แก่เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านผำ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 38 คน
         2.ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ.2549
         3.เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วยต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 มีทั้งหมดท10 แผน ดังนี้
                       แผนที่ 1 เรื่อง ต้นไม้มีชื่อ
                       แผนที่  2 เรื่อง ส่วนประกอบของต้นไม้
                       แผนที่  3 เรื่อง การเจริญเติบโตของต้นไม้
                       แผนที่  4 เรื่อง ประโยชน์ของต้นไม้
                       แผนที่  5 เรื่องการดูแลรักษาต้นไม้
         4.วิธีการศึกษาค้นคว้า เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงทดลอง ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการ
ศึกษาค้นคว้าตัวเองทุกขั้นตอน โดยใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อน และสอบหลัง

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
        1.ได้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 ที่มีประสิทธิภาพ
        2.ได้แนวทางสำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยในการพัฒนาการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อนำไปใช้ในการการจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


วิธีการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า ตามขั้นตอนดังนี




คำศัพท์
scope            ขอบเขต
Magnifier     แว่นขยาย
object           วัตถุ
a survey       สำรวจ
random        การสุ่ม



บทความ
เรื่อง 5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล




วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
ผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบแบบเด็กๆหรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย
ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
ทั้งนี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
"สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"
นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทาง
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
 3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
         
คำศัพท์
integration       บูรณาการ
investigate       ตรวจสอบ
skills               ทักษะ
environment   สิ่งแวดล้อม
nature             ธรรมชาติ





บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 13 เดือนกันยายน พ.ศ.2559  (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน 

       ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระในการเรียนวันนี้ อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันนพูดคุยเกี่ยวกับการดูนิทรรศการของพี่ปี  จากสัปดาห์ที่ผ่านมา จากนั้นก็ไดคัดไทย ดูตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัยวัยและก็เรียนมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงได้
        เข้าใจพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่สัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดุแลสิ่งมีชีวิต

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
           เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

สาระที่ 5 พลังงาน

สาระที่  6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

สาระที่  7 ดาราศาสตร์และอวกาศ

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
      

บรรยากาศในห้องเรียน



แบบฝึกหัดลายมือครั้งที่ 2 



ตัวอย่างสื่อการเรียนวิทยาศาสตร์









คำศัพท์เฉพาะ
- สิ่งมีชีวิต  Organism                             
- มาตรฐานการเรียนรู้   Learning Standards
- สาร Substance
- แรง Force
- อวกาศ Space 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ความคิดหลากหลายจากการเล่นของเด็ก  จะช่วยไปส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกกับการเรียน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง

สำหรับการเรียนในวันนี้ก็เข้าใจกับเนื้อหาที่เรียนดี  แต่บรรยากาศภายในห้องเย็นเกินไป ทำให้ไม่ค่อยมี
สมาธิในการเรียน
    


วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 6  เดือนกันยายน พศ 2559 ( เวลา 08.30-12.30น.)




เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เนื่องจากอาจารย์ติดงานที่ตึกนวัตรกรรม อาจารย์ก็ได้โทรบอกเราให้ไปที่ห้องสมุดชั้น 8 เพื่อดูวิซีดีเรื่อง อากาศมหัศจรรย์ ซึ่งไ้รวบรวมการทดลองเกี่ยวกับอากาศไว้มากมาย

ภาพจากการดูวีซีดี






นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ "รถพลังงานลม"




อุปกรณ์





1. แก้วกระดาษ
2. หลอดดูดน้ำ
3. ไม้เสียบลูกชิ้น
4. ฝาขวดน้ำ
5. ดินน้ำมัน
6. กาว
7. กระดาษ                                     
8. กรรไกร





ขั้นตอนการทำ
1.เอาดินน้ำมันใส่ในฝาขวดน้ำทั้ง 4 ฝา



2.ทาบนกระดาษสีแล้วไปติดกระดาแข็งที่เป็นกะบะรถ



3. เอาไม้เสียบลูกชิ้นไปสอดเข้าไปในหลอดดูดน้ำ จากนั้นตัดไม้เสียบลูกชิ้นให้เท่าขนาดของหลอดดูดน้ำ




4.ตกแต่งตัวรถตามลวดลายที่ต้องการ จากนั้นนำส่วนต่างๆของรถทากาวประกอบกอบเป็นรถพลังงานลม ดังรูป



วิธีการเล่นรถพลังงานลม

         ใช้ปากเป่าไปที่ปากแก้ว จากนั้นจากแรงดันอากาศที่มีอยู่ทุกทิศทาง ก็จะทำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  เด็กสามารถเล่นเป็นกลุ่ม เล่นเดี่ยวก็ได้ เพื่อเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเล่น

รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ  ดังที่ประดิษฐ์  รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้  โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความสนุกสนาน

การบูรณาการรถพลังงานลมกับการเรียนรู้แบบ STEM
            STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
Science (วิทยาศาสตร์) = การเคลื่อนที่ของรถพลังงานลม
Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำรถพลังงานลม
Engineering (วิศวะ) = รูปแบบรถพลังงานลม
Mathematics (คณิตศาสตร์) = จำนวน น้ำหนัก ขนาด รูปทรง


บรรยากาศการจัดนิทรรศการพี่ปี 5  ที่ตึกนวัตรกรรม


คำศัพท์น่ารู้
1.Car Wind Power   รถพลังงานลม
2.Wonderful มหัศจรรย์
3.Science Toys  ของเล่นวิทยาศาสตร์
4.Exposition นิทรรศการ
5. Air Pressure แรงดันอากาศ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-อากาศสามารถเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง มีตัวตน สามารถแทรกได้ทุกพื้นที่ รอบๆตัวเรามีอากาศ จับต้องไม่ได้ 


การประเมินผล
ประเมินตนเอง
สำหรับการเรียนวันนี้ ก็ไปรอเรียนแต่เช้า แต่มีเพื่อนๆบอกให้ไปห้องสมุด ช่วงที่ดูวีดีโอก็รู้สึกง่วงนอน