Carrot My BanneR

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6กันยายน 
วันอังคาร ที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ.2559( เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน

         วันนี้เริ่มต้นก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์แจกกระดาษให้คัดลาดมือ จากนั้นก็นำเสนอของเล่นเรื่องอากาศที่แต่ละคนทำมา อาจารย์ก็ถามของเล่นที่ทุกคนเตรียมมาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ต่อด้วยดูตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ของรุ่นพี่และกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์


ขณะที่เพื่อนๆกำลังนำเสนอของเล่นของตนเอง



ของเล่นห้องเรียนกลุ่ม 101 



แบบฝึกคัดลายมือครั้งที่ 3




อาจารย์แจกกระดาษA 4ให้คนละหนึ่งแผ่น 
วาดนิ้วมือของตนเอง แล้วใช้สีลากเส้นตามภาพ 
ภาพนี้เนื่องจากลากเส้นไม่โค้งตามนิ้วมือ
จึงทำให้ดูไม่มีมิติมาก แต่ของเพื่อนที่ทำสวยภาพจะดูมีมิติ



การทดลองการไหลของน้ำ คือจะไหลจากที่สูงลงมาที่ต่ำ






การทดลองเรื่องระดับของน้ำ คุณสมบัติของน้ำจะคงตัวเสมอ



อาจารย์แจกกระดาษ A4ให้แบ่งกับเพื่อน 4คน แล้วพักเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตัดเป็นรูปลูกอมหัวใจ
 จากนั้นให้คลี่ออกเป็นรูปดอกไม้ แล้วใช้เมจิกเขียนวงกลมตรงกลาง
 แล้วพับเก็บมุมทุกมุม ให้ไปทดลองลอยทีละคู่



ตัวอย่างสื่อของรุ่นพี่  เรื่องการหมุน





สื่อที่ดิฉันทำขึ้น

                                     





        น้ำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำการที่มีสารต่าง ๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำ คุณสมบัติของน้ำมีรายละเอียดดังนี้            
 1. คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ   คือ ลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่นความใส ความขุ่น กลิ่น สี เป็นต้น             
 - อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ              
- สี (color) สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนแสงของสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำตามธรรมชาติจะมีสีเหลืองซึ่งเกิดจากกรดอินทรีย์ น้ำในแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมจะมีสีน้ำตาล หรือถ้ามีตะไคร่น้ำก็จะมีสีเขียว             
  - กลิ่นและรส กลิ่นและรสของน้ำจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยหรือสารในกลุ่มของฟีนอล เกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งจะทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม            
  - ความขุ่น (turbidity) เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์             
 - การนำไฟฟ้า (electical conductivity) บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า           การไหลของน้ำในทางน้ำ (Streamflow) การไหลของน้ำเป็นวิธีการในการเปิดช่องทางสู่ทะเล มหาสมุทร ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง เวลาที่ใช้ในการเดินทางขึ้นอยู่กับความเร็วของสายน้ำซึ่งวัดในรูปของระยะทางที่น้ำเดินทางได้ต่อหน่วยของwbr> ทางน้ำบางสายมีความเร็วน้อยกว่า 0.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่บางสายน้ำอาจมีความเร็วถึง 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การไหลของทางน้ำอย่างช้าๆ ที่เรียกว่า การไหลแบบชั้น (laminar flow) อนุภาคของน้ำในทางน้ำมีการเคลื่อนที่เป็นชั้นขนานกันไป ในแต่ละชั้นมีความเร็วเท่าๆกัน แต่อาจแตกต่างไปจากชั้นใกล้เคียง ในทางน้ำจะพบเห็นการไหลแบบนี้ได้ยาก แต่ถ้ามีการไหลในลักษณะนี้ จะสามารถสังเกตเห็นได้ในบริเวณใกล้ขอบของทางน้ำ แต่ทางน้ำส่วนใหญ่มักมีลักษณะการไหลแบบ การไหลปั่นป่วน (turbulent flow) ซึ่งความเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้อนุภาคมีการไหลวนเวียน การเปลี่ยนแปลงการไหลจากการไหลเป็นชั้น ไปเป็น การไหลปั่นป่วน มีปัจจัยที่สำคัญคือความเร็ว ปัจจัยอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องประกอบด้วยคือ การลดลงของความหนืดของน้ำ การเพิ่มขึ้นของความลึก และความไม่ราบเรียบของทางน้ำการวัดค่าความเร็วของทางน้ำ จะวัดในหน่วยของระยะทางที่น้ำเดินทางได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยการติดตั้งมาตรวัดหลายๆจุด ขวางลำน้ำและหาค่าเฉลี่ย ในทางน้ำสายตรง ความเร็วที่สูงสุดจะอยู่บริเวณตอนกลางของทางน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่แรงต้านทานน้อยที่สุด เมื่อทางน้ำคดโค้ง บริเวณที่ทางน้ำมีความเร็วสูงสุด จะเป็นฝั่งด้านนอกความสามารถในการกร่อนและการพัดพาวัตถุขึ้นอยู่กับความเร็วของทางน้ำ ดังนั้นความเร็วจึงเป็นลักษณะที่สำคัญของทางน้ำ ความเร็วของทางน้ำที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยทำให้ความสามารถพัดพาเอาตะกอนไปกับน้ำเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัจจัยหลายประการที่เป็นตัวกำหนดความเร็วของทางน้ำซึ่งก็เป็นตัวกำหนดความสามารถในการกร่อนของทางน้ำด้วย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
1. ความลาดเอียง (gradient)
2. รูปร่าง ขนาด และความเรียบของทางน้ำ
3. อัตราน้ำไหล (discharge) ที่มา http://www.geol.science.cmu.ac.th/gs/courseware/205100/RunWater/Stream.htm

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การทดลองดอกไม้ 2 ดอก วางในกะละมังที่มีน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้น กระดาษเริ่มแบน ดอกไม้ทั้งแต่ละดอกก็เริ่มกลีบบาน น้ำก็ซึมตามกลีบดอกไม้ การทดลองนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการสอนวิทยาศาสตร์ ทักษะการสังเกต
-น้ำเกิดจากการไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ เช่น การไหลของน้ำพุ

คำศัพท์เฉพาะ
Center of gravity     จุดศูนย์ถ่วง
Water level              ระดับน้ำ
Water features         คุณสมบัติของน้ำ
vibration                  การสั่น
top                           ลูกข่าง
object                      วัตถุ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง

     สำหรับการเรียนในห้องเรียนวันนี้ ก็ตั้งใจฟังอาจารย์พูด ฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น ก็ทำให้รบกวนการเรียนด้วย ชอบดูการทดลองที่อาจารย์นำมาให้ดูวันนี้ สื่อบางอย่างหรือการทดลองบางตัวไม่เคยเห็นมาก่อน ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ๆให้เราได้เรียนรู้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น