Carrot My BanneR

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันอังคาร  ที่  25 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน

        ก่อนเข้าสู่เนื้อหาวันนี้อาจารย์ได้อบรมเรื่องการแต่งกายในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่ในหลวงท่านสวรรคต มีการใส่ชุดดำหรืออาจจะใส่ชุดนักศึกษาไว้อาลัย อาจารย์อยากให้นักศึกษาตระหนักให้ความสำคัญกับพระองค์ท่านและเพื่อให้เราตระหนักถึงมหาวิทยาลัยของเราด้วย 

        เริ่มต้นการเรียนอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานเกี่ยวหน่วยต่างๆที่ให้ไปแก้ไขมา  จากนั้นก็ทบทวนสาระวิทยาศาสตร์  เกี่ยวข้องกับหน่วยที่แต่ละกลุ่มทำอย่างไร อาจารย์ก็อธิบายอย่างละะเอียด


      

  หน่วยต้นไม้     
ในวันนี้อาจารย์แนะนำเมื่อสอนเด็กจริงๆให้หาสิ่งที่หามาง่ายๆมาให้เด็กดู เช่น เมล็ด




      


  หน่วยผลไม้      
แนะนำการวาดรูปผลไม้หรือติดรูปผลไม้ในมายแม็บ 
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เด็กรู้จักว่านี้คือผลไม้ชนิดนี้




   

หน่วยปลา   
กลุ่มนี้เพื่อนเขียนหนังสือผิดหลายคำ เช่น เกล็ด ออกซิเจน แปรรูป
 การเขียนมายแม็บอย่าเขียนย้อนกลับ







       หน่วยยานพาหนะ 
การเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังของยานพาหนะ 
เช่น ฝนตกถนนลื่นให้ขับรถอย่างระมัดระวัง  การเช็ครถก่อนเดินทางไกล 






หน่วยไข่ 
อาจารย์แนะนำการเขียนหนังสือให้มีหัวมีตัวอักษรชัดเจน เพื่อให้เด็กดูเป็นแบบอย่าง







หน่วยอากาศ  
การเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับแก๊ส การเปลี่ยนแปลงของฤดู 






หน่วยดอกไม้  
 ให้เพิ่มข้อมูลปัจจัยของดอกไม้ให้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นไม้ดอกหรือดอกไม้






การเรียนในวันนี้






เรือใบไม่ล้ม

ของเล่นวิทยาศาสตร์งานกลุ่ม 3 คน 

1.นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน  
2.นางสาวนิตยา   นนทคำจันทร์
3.นางสาวสาวิตรี  จันทร์สิงห์


   



   















อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ

1.ขวดน้ำ
2.กล่องนม
3.เทปใส
4.ฟิวเจอร์บอร์ด
5.ปืนกาว
6.กรรไกร
7.คัตเตอร์
ขั้นตอนการทำ
       1.นำเทปใสพันขวดน้ำกับกล่องนมติดกัน โดยเอากล่อมนมไว้ข้างล่าง ขวดน้ำไว้ข้างบน 
       2.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดเป็นตัวเรือ ใบพัด ตามแบบที่ต้องการ 
       3.ใช้ปืนกาวติดตัวเรือมาติดกับขวดน้ำ และใบพัด ตกแต่งเรือตามต้องการ
วิธีเล่น
         นำเรือใบไปลอยน้ำ แล้วใช้มือปัดเรือปัด เรือใบก็จะไม่ล่ม สามารถเล่นคนเดียวและเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เรือใบไม่ล่มเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
         จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)  หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง 
  จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
        การเคลื่อนที่ของเรือใบไม่ล่ม หางเสือจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางไปตามลม ส่วนกกล่องนมเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ใต้น้ำ บริเวณผิวน้ำไม่มีจุดศูนย์ถ่วงเรือใบจึงไม่ล่ม
การบูรณาการรถพลังงานลมกับการเรียนรู้แบบ STEM
  STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
       Science (วิทยาศาสตร์) = การเคลื่อนที่ของเรือใบ
       Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำเรือใบไม่ล่ม                   
       Engineering (วิศวะ) = รูปแบบเรือใบไม่ล่ม                                              
       Mathematics (คณิตศาสตร์) = จำนวน ขนาด รูปทรง 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การให้เด็กปฐมวัยนำเสนอชิ้นงาน สามารถทำได้โดย การปั้น การติดปะ การวาดรูป เป็นต้น
- หลักการเขียนMind mapนั้นพยายามทำออกมาให้เป็นภาพให้จำได้ง่าย สีต่างๆสามารถปรับปรุงเส้นให้สวยงาม ไม่ควรเขียนย้อนกลับ เขียนตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเด็กๆ

คำศัพท์
คาร์บอนมอนอกไซด์   carbon monoxide
ฤดู                      season
แรง                    force
การเคลื่อนที่      movement
การหมุน             rotation
การแปรรูป         transformation


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : การเรียนในวันนี้ฉันก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการนำเสนองานแต่ละกลุ่ม  
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายหน่วยต่างๆได้ละเอียดดี ขอบคุณอาจารย์ที่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกาย ทำให้เราต้องตระหนักมากขึ้น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ในอนาคต

         

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันอังคาร  ที่ 18 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)





เนื้อหาที่เรียน

           การเรียนการสอนในวันนี้ ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระ อาจารย์ได้เน้นย้ำซ้ำทวนเกี่ยวกับองค์ประกอบการคิด เพื่อให้นักศึกษาจำเนื้อหาได้ เมื่อถามสามารถตอบได้ทันที จากนั้นอาจารย์ก็ขอดูของเล่นวิทยาศาสตร์งานกลุ่มที่แต่ละกลุ่มนำเสนอไปแล้วไปปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์และพึ่งมาส่งในวันนี้ อาจารย์อธิบายว่าเพิ่มเติมว่าของเล่นที่จะเข้ามุมวิทยาศาสตร์ได้นั้นจะต้องสามารถเล่นได้ทุกคนและปลอดภัย ส่วนของเล่นส่วนตัวให้เด็กได้ประดิษฐ์ลงมือทำด้วยตนเองในห้องเรียนได้ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์และสะท้อนแนวคิด จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เมื่อแบ่งเสร็จให้สมาชิกแต่ละกลุ่มไปเอากระดาษฟลิปชาร์ทคิดหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีการทดลองและเป็นเรื่องง่ายๆ

          การเลือกหน่วยการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เลือกสิ่งรอบตัว เลือกเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อการสอนแบบบูรณาการ คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาหรือหน่วยที่เลือก ออกแบบให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและวิธีการเรียนรู้





อาจารย์ให้คำแนะนำกับการประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์

















  อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาตร์




ช่วงที่อาจารย์อธิบายให้คำแนะนำการทำหน่วยเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม







งานกลุ่ม กลุ่มดิฉันทำเรื่อง  อากาศ














งานหน่วยอากาศที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว






ช่วงของการทำงานเป็นกลุ่ม



  






หน่วยการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มจัดทำ  มีดังนี้

กลุ่มที่ 1  ดอกไม้

กลุ่มที่ 2  อากากาศ

กลุ่มที่ 3  ยานพาหนะ

กลุ่มที่ 4  ต้นไม้

กลุ่มที่ 5  ผลไม้

กลุ่มที่ 6  ปลา

กลุ่มที่ 7  ไข่


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ของเล่นที่สามารถเข้ามุมวิทยาศาสตร์นั้นสามารถสามารถเล่นไดทุกคนและควรปลอดภัยสำหรับเด็กๆด้วย เช่น กล้อง  เงาสะท้อน  แม่เหล็ก แผ่นสี  เป็นต้น 


 คำศัพท์

หน่วยการเรียนรู้         The unit

จิตวิทยาศาสตร์         spiritual Science

บูรณาการ                  integration

คุณสมบัติ                  property

ออกซิเจน                  oxygen


การประเมินผล

ประเมินตนเอง :   วันนี้มีการทำงานกลุ่มทำหน่อวยการเรียนรู้ ก็พยายามคิดหาสิ่งที่จะทำ บางหัวข้อก็คิดไม่ออกว่าจะต้องใช้คำอธิบายแบบไหนที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจ

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆแต่ละคนก็ช่วนกันทำหน่วยการเรียนรู้ได้ดี บางกลุ่มอาจารย์ก็ชมว่าเขียนสวย เป็นระเบียบ บางกลุ่มเพื่อนๆก็ตกแต่งได้สวยงาม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำอธิบายงานได้ละเอียดดี ทำให้หนูเข้าใจ






บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันจันทร์ ที่ 11 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน

        การเรียนในวันนี้ อาจารย์แจกกระดาษ A 4 คนละแผ่น จากนั้นให้นักศึกษาทุกคนเขียนขั้นตอนการปะดิษฐ์ของเล่นของตนเอง เมื่อเขียนเสร็จก็นำไปติดบนกระดาน จากนั้นนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4 คน จากนั้นอาจารย์ให้ตกลงกันให้เลือกงานของเพื่อนมาหนึ่งชิ้น เพื่อนำไปทำกราฟิกนำเสนอ และนำไปสอนเด็กอนุบาล จากนั้นอาจารย์บอกให้ยุบเหลือ 4 กลุ่มใหญ่ สมาชิกในกลุ่มก็มีทั้งหมด 8 คน งานมีสองชิ้นให้เลือก  เพื่อนๆทุกคนจึงตกลงกันว่าจะทำเรื่อง รถพลังงานลม จากนั้นก็ปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อแบ่งหน้าที่กันทำงาน และช่วยกันขัดเกลาคำพูดในขั้นตอนการประดิษฐ์รถพลังงานลมให้คำสละสลวย  นำไปสอนเด็กอนุบาล เพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่าย จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มไปนำเสนองาน 






ขั้นตอนการประดิษฐ์รถพลังงานลม







การวางแผนการกระบวนการดำเนินงานของสมาชิกภายในกลุ่ม






กลุ่มที่ 1
ทำที่ยิงจากไม้ไอติมหรือคัดดีด





กลุ่มที่ 2 
หนังสติกส่งของ








กลุ่มที่ 3 
กลุ่มดิฉันนำเสนอเกี่ยวกับ รถพลังงานลม







กลุ่มที่ 4 
เลี้ยงบอลด้วยหลอด






บรรยากาศในระหว่างเรียน


เพื่อนๆแต่ละคนก็ทยอยออกมาติดขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นบนหน้ากระดาน





ผลงานเพื่อนๆกลุ่ม 101 






เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนมากค่ะ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- กระบวนการดำเนินงาน ขั้นแรกแนะนำอุปกรณ์ ให้เด็กสังเกตว่ามีอุปกรณ์ชนิดไหนบ้างที่เด็กๆรู้จัก บอกพร้อมบอกจำนวนอุปกรณ์ว่าใช้กี่ชิ้น บอกขั้นตอนการทำรถพลังงานลม ครูสาธิตการแข่งขันให้เด็กดู   ตั้งประเด็นปัญหาทำไมรถเคลื่อนที่ได้ ตั้งสมมติฐานเกิดจากลมหรือเปล่าที่ทำให้รถเคลื่อนที่ได้  จัดแบ่งเด็กทำตามขั้นตอน จากนั้นแบ่งเด็กเพื่อทดลองแข่งขันรถพลังงานลม ทดลอง สังเกตเด็กๆ จากนั้นก็สรุปเป็นแผ่นกราฟ



คำศัพท์

แผ่นกราฟ        sheet of graph
กราฟฟิก          graphics
ประเด็นปัญหา   issues
การทดลอง       test
สมมติฐาน        hypothesis




การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ก็พยายามตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย เพราะมีขั้นตอนค่อยข้างยาก และก็ีการบันทึกข้อความในสมุด

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละคนก็ช่วยกันแก้ไขทำงานกลุ่มดี บางคนก็ช่วยแก้ไขขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่น  การวางแผนกระบวนการทำงาน  การนำเสนองาน

ประเมินอาจารย์ : วันนี้ก็เข้าใจความรู้สึกอาจารย์ อาจารย์เขี่ยวเข็นความรู้ เพราะอยากอยากนักศึกษาเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง





บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันอังคาร ที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)



****สอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1/2559

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 4 เดือนตุลาคม พศ 2559 ( เวลา 08.30-12.30 น.)
เนื้อหาที่เรียน

          วันนี้รุ่นพี่ปี 5 มาสอนเกี่ยวกับการทำคุ๊กกี้ขนมปังทอดไส้กล้วย พี่ก็จะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ช่วงแรกพี่พาร้องเพลง แนะนำส่วนผสม แนะนำอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ cooking ขนมปังทอดไส้กล้วยโดยแบ่งกลุ่มให้นั่งทำแล้วหมุนเวียนไปทำ

 
cooking ขนมปังทอดไส้กล้วย


อุปกรณ์
1.กะทะ
2.ตะหลิว
3.จาน
4.มีด
5.เขียง
6.ขวดน้ำ

ส่วนผสม
1.ขนมปัง           1   แผ่น
2.ไข่ไก่              1   ฟอง
3.กล้วยหอม      3    ชิ้น
4.น้ำตาลทราย   1/2 ช้อนชา
5.นมข้นหวาน    1    ช้อนชา
6.น้ำมันพืช         2    ถ้วย

ขั้นตอนการทำขนมปังทอดไส้กล้วย
1.นำขนมปังตัดขอบมารีดเป็นแผ่นบางๆ
2.นำกล้วยหอมมาหั่นใส่ขนมปัง
3.นำขนมปังมาชุปไข่ แล้วนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ
4.ทอดให้ขนมปังสีเหลืองนวล แล้วตักขึ้นมาพักไว้
5.นำขนมปังมาใส่จานแล้วราดน้ำตาลทรายและนมข้นหวาน



กลุ่มที่ 1 ตัดขอบขนมปัง
การทำก็เริ่มจากนำขนมปังมาตัดขอบทั้งสี่ด้าน แล้วใช้ขวดน้ำกลิ้งบนขนมปังให้แบน




กลุ่มที่ 2 ตัดกระดาษให้เป็นวงกลมเหมือนจานกระดาษ
คว่ำจานกระดาษลงบนจานกระดาษ ใช้ดินสอร่างตามขอบจานกระดาษ จากนั้นใช้กรรไกรตัดให้เป็นวงกลม




กลุ่มที่ 3 หั่นกล้วยหอม
ใช้มีดหั่นกล้วยเป็น 2 ส่วน จากนั้นก็หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โดยพี่แนะนำให้หั่นวางหน้าขนมปังแผ่นละ 4 ชิ้น



กลุ่มที่ 4 นำขนมปังไปชุปไข่
นำขนมปังมาชุปไข่ให้ทั่วทั้งแผ่น 






หลังจากนำขนมปังไปชุปไข่เรียบร้อย ก็นำขนมปังไปทอดในกะทะ


ทอดขนมปังเสร็จปังให้นำมันสะเด็ด จากนั้นนำไปหั่นเป็นชิ้นพอประมาณ




กลุ่มที่ 5 
ราดนมและน้ำตาลตามความต้องการ ก็จะได้ขนมปังทอดไส้กล้วยที่น่ากินแบบนี้ค่ะ



บรรยากาศในห้องเรียน











การบูรณาการ
วิทยาศาสาสตร์ : การเปลี่ยนแปลงของการทอดขนมปัง 
คณิตศาสตร์ :  จำนวน รูปทรง 
สังคม : การทำงานร่วมกัน

คำศัพท์
ขนมปัง   bread
การทอด fry
จานกระดาษ  paper plate
การปรุงอาหาร cooking
น้ำมัน  Oil


การประเมินผล
ประเมินตนเอง 
 สนุกสนานกับการทำ cooking ชอบการทำอาหาร  รุ่นพี่สอนเป็นกระบวนการดี ทำให้คิดถึงตอนเราเป็นเด็ก ขนมที่ทำก็อร่อยดี ชอบมากค่ะ

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนมาไม่มาเรียนค่อยข้างเยอะ แต่คนที่มาก็ตั้งใจทำกิจกรรมดี บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ 
พี่ทุกคนก็ให้ความรู้กับการดี การทำกิจกรรมเต็มที น่ารัก เป็นกันเองกับพวกเรามากๆค่ะ